วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เห็ดหลินจือแดงอบแห้ง Dried Lingzhi Mushroom

เห็ดหลินจือแดงอบแห้ง วลัยฟาร์ม
 Dried Lingzhi Mushroom


เห็ดหลินจือแดงอบแห้ง (Dried Lingzhi Mushroom) วลัยฟาร์ม (Walaifarm)  คัดสรรค์เป็นอย่างดี ปลูกแบบออร์แกนิค(ORGANIC) และเพื่อให้คุณมีสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคภัย เราจึงใด้มี เห็ดหลินจืออบแห้งสำหรับต้มดืม 

วิธีต้มเห็ดหลืนจือ:ใช้เห็ดหลินจืออบแห้งของ วลัยฟาร์ม 2-3 ดอก ต่อน้ำ 3 ลิตรต้มให้เดือดแล้วปิดฝาหม้อเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆจนน้ำเหลือ 1 ลิตร เทใส่ภาชนะเก็บไว้จิบหรือดื่มตลอดเวลา (การเคี่ยวซ้ำจะทำให้ความเข้มข้นของยาลดลงตามจำนวนครังที่เคี่ยว)

1 ห่อ บรรจุ 60 กรัม (60 g.) ในราคาห่อละ 200 บาท (200 Bat )


ข้อมูลการสั่งซื้อเห็ดหลินจืออบแห้ง วลัยฟาร์ม

Line ID    :7391160;0828654312 ;nong
Tel            :0825695141,0945486070






















งานวิจัยต่างๆเกียวกับเห็ดหลินจือ

ภาควิชาเภษัชวินิฉัย คณะเภษัชศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  รองศาสตราจารย์ ดร. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ 
ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เห็ดหลินจือ [Ganoderma lucidum (Fr.) Karst.] หรือที่รู้จักกันดีในประเทศไทย “เห็ดหมื่นปี เห็ดจวักงู” ชื่ออังกฤษ “Lacquered mushroom” ชื่อญี่ปุ่น “Mannantake” เห็ดหลินจือ จัดเป็นราชาแห่งสมุนไพรจีน ที่มีการใช้มานานกว่า 4,000 ปี เป็นยาอายุวัฒนะและรักษาโรคต่าง ๆ ในเภสัชตำรับของสาธารณรัฐประชาชนจีน ระบุสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย บรรเทาอาการอ่อนเพลีย แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง รักษาโรคหัวใจ และช่วยให้นอนหลับ(1)  มีรายงานการศึกษาทางคลินิกพบว่า เห็ดหลินจือมีผลกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็งปอด(2) ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่(3) และผู้ป่วยมะเร็งขั้นลุกลาม(4) มีฤทธิ์ต้านปวดและมีความปลอดภัยในการใช้ในผู้ป่วยโรค rheumatoid arthritis(5) รักษาโรค neurasthenia(6) โรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง(7,8) อาการปวดหลังจากการติดเชื้องูสวัด(9)  นอกจากนี้ยังพบว่าเห็ดหลินจือมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น ฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน(10-13)  ฤทธิ์ต้านเนื้องอกและมะเร็ง(10,14-16)  ฤทธิ์ป้องกันเส้นประสาทเสื่อม(17-20)  ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด(21-22) ฤทธิ์ลดไขมันในเลือด(23-24) ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน(25-27) ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammation)(28-29) เป็นต้น ซึ่งสารสำคัญคือ สารกลุ่ม polysaccharides(10,11,13) สารกลุ่ม triterpenoids(30-33) สารกลุ่ม sterols(34-36) สารกลุ่ม fatty acids(37) สารกลุ่มโปรตีน(38-41) เป็นต้น ซึ่งสารสำคัญดังกล่าวจะพบได้ในส่วนสปอร์มากกว่าส่วนดอก(42) และสปอร์ที่กะเทาะผนังหุ้มมีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งได้ดีกว่าสปอร์ที่ไม่กะเทาะผนังหุ้ม และส่วนดอก(43-45)  มีการศึกษาเกี่ยวกับพิษวิทยาของเห็ดหลินจือทั้งพิษแบบเฉียบพลันและพิษแบบเรื้อรังพบว่ามีความเป็นพิษต่ำมาก และมีความปลอดภัยสำหรับการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
ประเทศไทยมีการปลูกเห็ดหลินจือในเชิงพาณิชย์มาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี โดยจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในรูปดอกเห็ดหั่นเป็นแผ่น น้ำเห็ดหลินจือ เครื่องดื่มชาเห็ดหลินจือ กาแฟเห็ดหลินจือ เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั้งสรรพคุณในการรักษาโรคภัยต่าง ๆ หรือการศึกษาการเพาะปลูกตามหลักเกณฑ์ที่ดีในการเพาะปลูก (Good agricultural Practice; GAP) หรือการเก็บสปอร์เห็ดหลินจือมาใช้ประโยชน์ เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้เนื่องจากขาดการประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีองค์ความรู้แต่ไม่มีการบูรณาการในการศึกษาวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง
ปี 2551-2554 สถาบันการแพทย์แผนไทย-จีน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นองค์หลักในการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย ในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะแพทยศาสตร์ และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการวิจัยและพัฒนาเห็ดหลินจือตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงการใช้ประโยชน์  คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นคณะทำงานการวิจัยเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือในระดับพรีคลินิก และคณะทำงานการพัฒนาผลงานการวิจัยเห็ดหลินจือและสปอร์เห็ดหลินจือสู่การใช้ประโยชน์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษา “คุณภาพและปริมาณสารสำคัญของดอกเห็ดและสปอร์เห็ดหลินจือที่ปลูกในประเทศไทย”(46)  โดยตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญกลุ่ม terpenoids(47) และสารกลุ่ม polysaccharides(48,49)   การศึกษานี้จะเป็นข้อมูลบ่งชี้พันธุ์เห็ดหลินจือที่เหมาะสมในการปลูกในประเทศไทย อายุในการเก็บเกี่ยวสปอร์และดอกเห็ด ชนิดของท่อนไม้ที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเห็ด และและได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสปอร์เห็ดหลินจือ ก่อนนำไปใช้ทางยาจะต้องกะเทาะผนังหุ้ม(50)  ผลการศึกษาคุณภาพและปริมาณสารสำคัญของดอกเห็ดและสปอร์เห็ดหลินจือพันธุ์ MG1, MG2, MG5 พบว่า ระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือ 110 วัน และพันธุ์เห็ดที่มีปริมาณสารกลุ่ม polysaccharides สูงคือ พันธุ์ MG2 โดยพบในสปอร์ที่กระเทาะผนังหุ้ม (4.77%) มากกว่าดอกเห็ด (3.06%) ส่วนพันธุ์ที่มีปริมาณสารกลุ่ม triterpenoids สูง คือ พันธุ์ MG5 โดยพบในก้านดอก (0.55%) มากที่สุด รองลงมาคือดอกเห็ด (0.40%) และสปอร์ (0.27%) ตามลำดับ และพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเห็ด คือ ไม้ลำไย และไม้สะเดา และงานวิจัยนี้ได้พิสูจน์ว่าสปอร์ที่กะเทาะผนังหุ้มมีสารสำคัญและฤทธิ์ทางยาดีกว่าสปอร์ที่ไม่กะเทาะผนังหุ้ม ทั้งนี้เพราะว่าผนังหุ้มสปอร์มีผนังหนา 2 ชั้น ผนังชั้นนอกเรียบ ผนังชั้นในยื่นคล้ายหนามไปชนผนังชั้นนอก ซึ่งผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าตัวทำละลายแอลกอฮอล์ หรือ dichloromethane ไม่สามารถสกัดสารสำคัญกลุ่ม triterpenoids ออกจากสปอร์เห็ดหลินจือที่ไม่กะเทาะผนังหุ้ม แต่การต้มสปอร์ที่ไม่กะเทาะผนังหุ้มด้วยน้ำจะสกัดสารกลุ่ม polysaccharides ได้บ้าง แต่ปริมาณน้อยกว่าสปอร์ที่กะเทาะผนังหุ้ม นอกจากนี้ในสภาวะที่เป็นกรด หรือเป็นด่าง เลียนแบบสภาวะของกระเพาะและลำไส้ ตามลำดับ ก็ไม่สามารถทำลายผนังหุ้มของสปอร์ได้ ซึ่งพิสูจน์ได้จากการศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอน และ TLC chromatogram ซึ่งจะสอดคล้องกับกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลศิริราชพยาบาล เมื่อผู้ป่วยคนหนึ่งที่รับประทานผงเห็ดหลินจือแล้วมีอาการท้องเสีย เมื่อตรวจอุจจาระพบว่ามีสปอร์เห็ดหลินจือที่มีขนาดและรูปร่างคล้ายกับไข่พยาธิ ซึ่งอาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ว่าอาการท้องเสียเกิดจากพยาธิ หลังจากหยุดการรับประทานผงเห็ดหลินจือ อาการต่าง ๆ ก็ดีขึ้น(51) กรณีศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานสปอร์เห็ดหลินจือที่ไม่กะเทาะผนังหุ้ม ร่างกายคนไม่สามารถย่อยผนังหุ้มได้ ทำให้จึงยังคงพบสปอร์ในอุจจาระ ฉะนั้นการรับประทานสปอร์เห็ดหลินจือจึงต้องทำการกะเทาะผนังหุ้มก่อน เพื่อให้สารสำคัญถูกสกัดออกจากสปอร์และดูดซึมเข้าร่างกายได้ ซึ่งจะมีคุณค่าทางยาตามรายงานการวิจัยทางคลินิกหรือพรีคลินิก








แหล่งข้อมูล
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th


การศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดจากเห็ดหลินจือต่อระดับความอ่อนล้า และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง


 SUKUNYA SOKSAWATMAKHIN

พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์, ศาสตราจารย์ ดร.นพ.วิจิตร บุณยะโหตระ 
นิสิตระดับปริญญาโท,อาจารย์
นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

บทนา      
     กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง คือกลุ่มอาการอิดโรยเรื้อรังที่มีความผิดปกติหลากหลายระบบทั่วร่างกาย ทั้งทางกายภาพและทางจิตประสาท ซึ่งในปัจจุบันพบอุบัติการณ์มากถึงกว่า 200 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน โดยมากกาลังระบาดอยู่ในหมู่ประชากรวัยทางาน 25-45 ปี ปัจจุบันทางการแพทย์จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ทาให้เกิดภาวะนี้โดยสิ่งที่บกพร่องตามมาเป็นอันดับแรกคือความสามารถในการทางานที่ต้องใช้ความคิดไตร่ตรอง รอบคอบ ทาให้รบกวนชีวิตประจาวันและความเป็นอยู่ของผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมเป็น อย่างมาก การรักษาส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นเพียงวิธีการรักษาแบบประคับประคองตามอาการเท่านั้น ยังไม่มีวิธีรักษาใดที่ทาให้หายขาดได้
เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณของเห็ดหลินจือ(Ganoderma lucidum)อย่างกว้างขวางและพบว่าในเห็ดหลินจือมีสารสาคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์มากกว่า 250 ชนิดและมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการภายในร่างกายในหลายๆด้านทาให้มีการคาดคะเนว่าน่าจะเหมาะสมในการนามาช่วยบรรเทาอาการของภาวะอ่อนล้าเรื้อรังนี้ได้เป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีการวิจัยใดที่นาเห็ดหลินจือมาทดลองในผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างจริงจัง ดังนั้นการวิจัยนี้จึงทาขึ้นเพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากเห็ดหลินจือต่อผู้ป่วยจากกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังโดยประเมินจากระดับความอ่อนล้าและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยรวมถึงความพึงพอใจและผลข้างเคียงของสารสกัดเห็ดหลินจือ

วัตถุประสงค์
          เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดจากเห็ดหลินจือต่อผู้ป่วยจากกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังโดยประเมินจากระดับความอ่อนล้า คุณภาพชีวิต ความพึงพอใจของผู้ป่วยและผลข้างเคียงของสารสกัดเห็ดหลินจือ
       
 วิธีการศึกษาและขั้นตอนการวิจัย
            การศึกษานี้มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยอยู่ในกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครทั้งหมด 50คนทาการแบ่งแบบสุ่มกลุ่มละ 25คนโดยให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือกลุ่มหนึ่ง และรับประทานยาหลอกอีกกลุ่มหนึ่ง ขนาดการรับประทานคือ 2 กรัม/วัน โดยให้รับประทานครั้งละ 1 ขวดก่อนมื้ออาหารสามมื้อและก่อนนอนแล้วทาการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบสอบถามคุณภาพชีวิต SF-12 และคะแนนระดับความอ่อนล้าVAS ก่อนและหลังการรับประทานครบ4, 8 และ 12 สัปดาห์ ประเมินผลตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยวัดระดับ Serum Cortisol ก่อนและหลังการรับประทานครบ12 สัปดาห์ รวมทั้งประเมินความพึงพอใจและผลข้างเคียงต่อการรับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือในสัปดาห์ที่ 12 โดยใช้แบบสอบถาม
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
           ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการรับประทานภายในกลุ่มเดียวกันโดยใช้ Pair T-test ส่วนการเปรียบเทียบผลการรักษาของข้อมูลระหว่างกลุ่มใช้ Independent t-test การเปรียบเทียบความพึงพอใจของการรับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือโดยใช้ Mann-Whitney U-test และผลข้างเคียงของสารสกัดจากเห็ดหลินจือ
ระหว่างกลุ่มใช้สถิติ Chi-square test โดยกาหนดค่าความเชื่อมั่น 95%
ผลการวิจัย
           เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการรับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือกับยาหลอก พบว่ากลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือมีการเปลี่ยนแปลงของระดับคะแนนจากแบบสอบถาม SF-12 ที่เพิ่มขึ้นแตกต่างจากกลุ่มที่รับประทานยาหลอกอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติตั้งแต่ในสัปดาห์ที่ 4 และมีการเปลี่ยนแปลงของระดับคะแนน VAS ที่ลดลงแตกต่างจากกลุ่มที่รับประทานยาหลอกอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติตั้งแต่ในสัปดาห์ที่ 4 เช่นกัน อีกทั้งพบว่าในกลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือมีระดับ Serum Cortisol ที่เพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 12 ในขณะที่กลุ่มที่รับประทานยาหลอกมีระดับ Serum Cortisol ที่ลดต่าลง ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจและผลข้างเคียงพบว่าในกลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือมีความพึงพอใจในระดับสูงมากกว่ากลุ่มที่รับประทานยาหลอก อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติและพบมีรายงานผลข้างเคียงจากทั้งสองกลุ่มเป็นผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงและไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ

























อภิปรายผลการทดลอง
      จากงานวิจัยเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ สารสกัดจากเห็ดหลินจือกับยาหลอกพบว่าผล จากคะแนนแบบสอบถาม SF-12 คะแนน VASและ Serum cortisol มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติระหว่างทั้ง สองกลุ่ม โดยกลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบสอบถาม SF-12 ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอกอย่างมีนัยสาคัญตั้งแต่ในสัปดาห์ที่ 4 (ภาพที่1)ส่วนผลคะแนนระดับความอ่อนล้า (VAS) โดยให้ระดับ 0 คะแนน = ระดับความอ่อนล้าน้อยที่สุด และ 100 คะแนน = ระดับความอ่อนล้าที่มากที่สุด พบว่ามีการ ลดลงของระดับคะแนน VASในกลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือแตกต่างจากกลุ่มที่รับประทานยาหลอกอย่างมีนัยสาคัญตั้งแต่ในสัปดาห์ที่ 4 (ภาพที่2)ในส่วนของผลค่าระดับ Serum Cortisol พบว่าหลังการรับประทานครบ 12 สัปดาห์กลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือก็ มีการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น (มีค่าใกล้เคียงกับระดับปกติมากขึ้น ) ซึ่งตรงข้ามกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอกที่มีค่าระดับSerum Cortisol ที่ลดลงต่าจากเดิม (ภาพที่3)
       ดังนั้น จากผลการทดลองข้างต้นแสดงว่าการรับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือมีประสิทธิภาพในการรักษากลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง โดยมีผลในการลดระดับความอ่อนล้าและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ได้ตั้งแต่ระยะเวลา 4 สัปดาห์ขึ้นไป และการรับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือในระยะเวลาต่อเนื่อง8-12 สัปดาห์จะทาให้ประสิทธิภาพในการรักษาดียิ่งขึ้น โดยผลที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างจากกลุ่มที่รับประทานยาหลอกอย่างมีนัยสาคัญสถิติ 
      ในปัจจุบันยังขาดหลักฐานทางการศึกษาเรื่องประสิทธิผลของสารสกัดจากเห็ดหลินจือในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังนี้ แต่อย่างไรก็ตามในการศึกษาก่อนหน้านี้ได้มีการศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดจากเห็ดหลินจือในโรคที่คล้ายคลึงกันคือ การศึกษาผลของสารสกัดจากเห็ดหลินจือต่อผู้ป่วยประสาทแบบ Neurasthenia โดยทาการทดลองแบบสุ่มสองทางในผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นเวลา 8 สัปดาห์เทียบกับยาหลอก พบว่ามีค่า Clinical Global Impression (CGI) และค่า Visual Analog Scale (VAS) ของระดับความอ่อนล้าที่ดีขึ้น แสดงว่ามีความรุนแรงของโรคลดลง ซึ่งผลเป็นไปในทางเดียวกันกับผลการศึกษานี้ที่พบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือสามารถช่วยลดความรุนแรงของกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังลงได้และมีผลแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก (Tang W,2005;8:53–8)
      จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าระบบที่สาคัญที่ตรวจพบความผิดปกติในผู้ป่วยกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังคือระบบภูมิคุ้มกัน-ระบบประสาท-ระบบต่อมไร้ท่อ (Immunoneuroendocrine System) (Silverman MN,2010,2:338-346)ซึ่งอธิบายด้วยกลไกที่ว่าภาวะความเครียดทางด้านร่างกายหรือจิตใจเรื้อรังของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทางานของเซลล์สมองและHPA axis โดยไปมีผลทาให้ลดการทางานของ Central nervous system และHypothalamus ในสมอง ส่งผลให้เกิดการลดลงของระดับ corticotrophin-releasing hormone (CRH) และมีผลให้เกิดการลดต่าลงของcortisol และประสิทธิภาพในการทางานของระบบภูมิคุ้มกันและระบบอื่นที่สาคัญทั่วร่างกายจึงก่อให้เกิดอาการต่างๆในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมามากมาย(Rosenthal, T. et al.,2008:78, 1173-1179)พบว่าเห็ดหลินจือจัดเป็นสารที่มีสรรพคุณหลากหลายชนิด ประการแรกคือ เห็ดหลินจือมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งชนิด Cell-mediated immune system (โดยการกระตุ้น IL-1, TNF αและส่งเสริมการทางานของ T-lyphocyteactivity,NK-cell) และ Humoral immune system (โดยส่งเสริม Antigen-presenting cell และส่งเสริมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน) ทาให้ช่วยลดการอักเสบ (Anti-inflammation) อีกทั้งยังมีฤทธิ์เป็น Adaptogenที่สามารถลดความเครียดในสมอง สามารถช่วยเสริมสร้างสารสื่อประสาทและปรับให้การทางานของสมองกลับสู่ปกติ ช่วยปรับการทางานของต่อมไร้ท่อในร่างกายให้กลับสู่ภาวะสมดุลได้ซึ่งสอดคล้องกับในอดีตที่มีผู้ทาการศึกษาการรับประทานสารสกัดสมุนไพรที่มีส่วนผสมของเห็ดหลินจือร่วมด้วยในผู้ป่วยโรคหอบหืด พบว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืดลงได้โดยมีค่าปริมาณเม็ดเลือดขาวและ Serum Ig E จากการอักเสบของระบบทางเดินหายใจที่ลดลง พร้อมทั้งพบว่าระดับ Serum Cortisol ที่ต่าในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้หอบหืดมีค่าเพิ่มขึ้นใกล้เคียงค่าปกติได้ (Web MC., 2005) ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาในครั้งนี้ที่พบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือสามารถช่วยทาให้ระดับ Serum cortisol เพิ่มสูงขึ้นแสดงว่าเห็ดหลินจือมีประสิทธิภาพในการช่วยส่งเสริมการทางานของ
ระบบภูมิคุ้มกันและ HPA-axis นั้นให้ดีขึ้นได้จริง และน่าจะเป็นกลไกที่ส่งผลให้ผู้ป่วยในการวิจัยครั้งนี้มีอาการดีขึ้นและความรุนแรงของโรคลดลง
         เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจโดยรวมของผู้ป่วย พบว่ากลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือส่วนใหญ่รู้สึกพอใจกับประสิทธิผลของการรักษาคิดเป็นร้อยละ 68 มีค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจอยู่ที่ 3.84 คะแนน ส่วนกลุ่มที่รับประทานยาหลอกส่วนใหญ่รู้สึกเฉยๆ คิดเป็นร้อยละ 60 มีค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจอยู่ที่ 2.92 คะแนนซึ่งพบว่าพบว่ามีความแตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.001)
       จากงานวิจัยในครั้งนี้ มีรายงานผู้มีผลข้างเคียงจากการักษาทั้งหมดจานวน 15ราย โดยเป็นผู้ที่รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือจานวน 8 ราย และผู้รับประทานยาหลอกจานวน 7 รายโดยรายงานผลข้างเคียงที่ระบุมาคือ ถ่ายเหลวบ่อย และคลื่นไส้ แต่อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของที่รายงานจากทั้งสองกลุ่มเมื่อนามาวิเคราะห์ทางสถิติแล้วพบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ
สรุปผล
การรับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือน่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังโดยช่วยลดระดับความอ่อนล้าและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ โดยที่ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการรักษาและไม่มีผลข้างเคียงที่ชัดเจน

เอกสารอ้างอิง
1. Rosenthal, T. et al. (2008). Fatigue: an overview. Am Fam Physician. 78, 1173-1179.
2. Silverman MN, Heim CM, Nater UM, Margues AH, Sternberg EM. Neuroendocrine and immune contributors to fatigue. PM R 2:338-346, 2010.
3. Tang W, Gao Y, Chen G, Gao H, Dai X, Ye J,A randomized, double-blind and placebo-controlled study of a Ganoderma lucidum polysaccharide extract in neurasthenia. J Med Food 2005;8:53–8.
4. Web MC, Wei CH, Hu ZQ, Srivastava K, Ko J, Xi ST, Mu DZ, Du JB, Li GH, Wallenstein S, Sampson H, Kattan M, Li XM. Efficacy and tolerability of anti-asthma herbal medicine intervention in adult patients with moderatesevere allergic asthma. J Allergy Clin Immunol. 2005 Sep;116(3):517-24.


แหล่งข้อมูล/ที่มา



วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เห็ดหลินจือและสรรพคุณ

      เห็ดหลินจือ (อังกฤษLingzhi) เป็นยาจีน (Chinese traditional medicine) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนมีคนนับถือมากที่สุด ได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็น “เทพเจ้าแห่งชีวิต” (Spiritual essence) มีพลังมหัศจรรย์ บำรุงร่างกายใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และยังสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ชาวจีนโบราณต่างยกย่องเห็ดหลินจืออย่างเหนือชั้น ว่าดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน นอกจากจะมีสรรพคุณเหนือชั้นกว่าแล้วยังปลอดภัยไม่มีพิษใด ต่อร่างกาย
      สรรพคุณ 
ในสมัยโบราณ กล่าวกันว่า เห็ดหลินจือทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น ใช้บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีกำลัง ทำให้ความจำดีขึ้น ทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ชัดเจนดีขึ้น ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสีหน้าแจ่มใส ชะลอความแก่ ส่วนสรรพคุณอื่นๆที่ได้รวบรวมไว้ได้แก่ รักษาและต้านมะเร็ง รักษาโรคตับ ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ ปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำ ภาวะมีบุตรยาก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคภูมิแพ้ โรคประสาท ลมบ้าหมู เส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปวดเมื่อย ปวดข้อ โรคเกาต์ โรคเอสแอลอี เส้นเลือดหัวใจตีบ ตับแข็ง ตับอักเสบ ปวดประจำเดือน ริดสีดวงทวาร อาหารเป็นพิษ แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ บำรุงสายตา และความเชื่อดังกล่าว ยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
เห็ดหลินจือได้ถูกบันทึกไว้ว่า มีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมาก กว่า 100 สายพันธุ์ และสำหรับสายพันธุ์ที่นิยมมีสรรพคุณทางยาดีที่สุดคือ กาโนเดอร์ม่า ลูซิดั่ม (Ganoderma lucidum) หรือสายพันธุ์สีแดง
เห็ดหลินจือมีสารโพลีแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นสารยับยั้งอาการต่างๆ ข้างต้น เห็ดหลินจือในแต่ละชนิดจะมีปริมาณสารโพลีแซคคาไรด์ในปริมาณที่แตกต่างกัน แต่สายพันธุ์ที่มีสารโพลีแซคคาไรด์มากที่สุด คือ เห็ดหลินจือสีแดง ซึ่งมีงานวิจัยต่างๆ พบว่ามีสารโพลีแซคคาไรด์มากที่สุดในบรรดาเห็ดหลินจือทั้งหมด
ปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ เห็ดหลินจือออกมาจำหน่ายกันเป็นจำนวนมาก การเลือกผลิตภัณฑ์ เห็ดหลินจือแดงควรศึกษาตั้งแต่วิธีการเพาะปลูก ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญ เพราะการจะได้เห็ดหลินจือที่มีคุณภาพที่ดีนั้น ตัวเห็ดหลินจือเอง จะต้องได้รับการเพาะเลี้ยงในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งในเรื่องความชื้น แสงสว่าง และสารอาหารที่ได้รับ ส่วนขั้นตอนการแปรรูป ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ เพราะถือเป็นกระบวนการที่จะสกัดสารโพลีแซคคาไรด์จากตัวเห็ดเองออกมาให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้การบรรจุภัณฑ์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องให้ความสนใจไม่แพ้กัน ควรเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกันความชื้นได้ดี เพราะว่าความชื้นจะทำให้เห็ดหลินจือขึ้นราได้ เนื่องจากเห็ดหลินจือค่อนข้างไวต่อความชื้น
สรรพคุณของเห็ดหลินจือช่วยบำรุงตับ และรักษาโรคตับ ตับแข็ง ตับอักเสบ แต่มีรายงานทางการแพทย์หลายกรณี ว่า ส่งผลให้ตับอักเสบได้ โดยเฉพาะผู้ผลิตและปลูกโดยไม่มีความรู้ด้านวิศวกรรมเคมียาตะวันออกโบราณอันลี้ลับของการใช้เห็ดหลินจือเป็นแกนดูดซับตัวยาอื่นในการบำรุงตับที่แท้จริงกว่า 4000ปีในภูมิปัญญาตะวันออก ดังนั้นแพทย์โรคเบาหวานจึงพบผู้ป่วยเป็นโรคตับอยู่บ่อยครั้งในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานเห็ดหลินจือยี่ห้อที่มีสถิติลดเบาหวานได้สูง และควรระมัดระวังการใช้เป็นอย่างมากในผู้ป่วยที่เป็นไวรัสตับอักเสบที่มีการติดต่อทางน้ำลาย ทางที่ดีผู้รับประทานควรตรวจเลือดหาไวรัสตับอักเสบก่อนรับประทาน หรือไปบริจาคเลือดบ่อยๆ แล้วขอดูผลเลือด
ประโยชน์ของเห็ดหลินจือ สรรพคุณของเห็ดหลินจือเห็ดหลินจือสรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สีหน้าแจ่มใส ช่วยบำรุงและรักษาสายตา สรรพคุณเห็ดหลินจือใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยทำให้อายุยืนยาว ช่วยชะลอแก่ ชะลอวัย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแข็งแรง ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น ช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนของเลือดให้ดียิ่งขึ้น ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น ช่วยผ่อนคลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้นอนหลับได้สนิท ช่วยทำให้ประสาทสัมผัสต่างๆ ดีขึ้น สรรพคุณช่วยรักษาและต่อต้านมะเร็ง โดยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวสร้างสารต้านมะเร็ง ช่วยแก้พิษจากรังสี คีโม เช่น เม็ดเลือดขาวต่ำจากคีโม ท้องเสียอักเสบจากการฉายรังสี อาการปวดจากพิษบาดแผล ช่วยลดความดันโลหิตและรักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำให้สมดุล ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองและหัวใจอุดตัน ป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาต ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคหมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาทให้ทุเลายิ่งขึ้น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยควบคุมอาการเบาหวาน ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด ช่วยรักษาโรคประสาท สรรพคุณของเห็ดหลินจือช่วยบำรุงตับ และรักษาโรคตับ ตับแข็ง ตับอักเสบ เห็ดหลินจือรักษาโรคไตเรื้อรังบางชนิด โดยช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของไตให้ดีขึ้น ประโยชน์ของเห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคลมบ้าหมู ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ประโยชน์เห็ดหลินจือช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดตามข้อ ประโยชน์ของเห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคเกาต์ ช่วยสลายใยแผลเป็น หรือพังผืดหดยืด ทำให้ในแผลเป็นอ่อนนิ่มและหดตัวเล็กลง ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัส อย่าง ไวรัสเอดส์ อีสุกอีใส งูสวัด ช่วยรักษาโรคลูปัส อีริทีมาโตซัสวร่าง (SLE) หรือโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ช่วยแก้อาการป่วยบนที่สูง เช่น อาการหูอื้อ ช่วยรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจน เช่น ถุงลมโป่งพอง หัวใจล้มเหลว เส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน ช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยาก ช่วยป้องกันการเสื่อมสรรถภาพทางเพศ เห็ดหลินจือจัดเป็นสเตียรอยด์ธรรมชาติ ซึ่งไม่มีสารพิษหรือผลข้างเคียงเหมือนกับสเตรียรอยด์สังเคราะห์





แหล่งข้อมูล/ที่มา